การจัดการที่ญี่ปุ่น

ทำให้ระบบดำนา มีต้นทุนต่ำ ทุ่นแรง และเป็นจริงได้ด้วย

มิทสึนาเอะคืออะไร

การเพาะต้นกล้าโดยทั่วไปใช้เมล็ดข้าวเปลือกต่อถาดที่ 100-150กรัม (เป็นข้าวงอก 125-187กรัม) ในทางกลับกันการปลูกแบบมิทสึนาเอะสามารถ หว่านเมล็ดข้าวเปลือกได้หนาแน่นถึง 250-300 กรัม (เป็นข้าวงอก 312-375 กรัม) ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีรถดำนาของยันม่าร์ยังสามารถคีบต้นกล้า ได้ 3 ถึง 5ต้น จากถาดเพาะชำได้อย่างแม่นยำเช่นเดียวกับวิธีการการปลูกแบบทั่วไป

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น ได้เลือกเป็นเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ล่าสุดของปี 2016

ประโยชน์ของมิทสึนาเอะ

จำนวนถาด เพาะต้นกล้า 1/3
ค่าวัสดุ ในการเ พาะต้นกล้า 1/2
เวลาที่ใช้ในการ เพาะเมล็ด/ ขนย้ายต้นกล้า 1/3
วิธีการควบคุมเหมือนที่เคยทำมาเกือบทั้งหมด ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยาก
  • ข้อมูลนี้เป็นการคำนวณจากการใช้ต้นกล้าสำหรับดำนาที่ 187.5 ไร่ ปริมาณที่เพาะแบบดั้งเดิมได้ต้นกล้า100 กรัมต่อถาดในขณะที่ใช้วิธีแบบมิทสึนาเอะจะได้ต้นกล้าที่300กรัมต่อถาด

การเพาะต้นกล้าและดำนาตามแบบฉบับของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นผู้นำของโลกในการพัฒนา [เครื่องดำนา] ที่เปลี่ยนการดำนาด้วยแรงงานคนให้สามารถทำนาด้วยเครื่องจักรได้ การจะเปลี่ยนนั้น สิ่งสำคัญคือการเพาะต้นกล้าให้ได้คุณภาพที่ดี โตเต็มที่ และเหมาะสมกับเครื่องดำนา แม้ว่าจะมีปัจจัยด้านพื้นที่แต่การเพาะปลูกตามแบบของญี่ปุ่นจนถึงวันนี้ จะใช้ปริมาณเมล็ดข้าวที่เพาะต่อถาดเพาะต้นกล้า 100-150 กรัม ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่เพาะปลูกข้าว 6 ไร่ 1 งาน จะต้องใช้ถาดเพาะต้นกล้าประมาณ 230 ถาด (กำหนดให้เป็น 150 กรัม/ถาด) หากต้องใช้ถาดเพาะต้นกล้าเยอะ แน่นอนว่าต้องมีต้นทุนค่าวัสดุในการเพาะ เวลาที่ใช้ในการขนย้ายถาดเพาะกล้าและพื้นที่ในโรงเรือนที่ใช้จัดเก็บเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นอุปสรรคในการขยายกิจการ เทคนิคที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นก็คือ [มิทสึนาเอะ] แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเพาะต้นกล้าลดลง และใช้แรงงานในการขนย้ายน้อยลง นอกจากนี้วิธีการควบคุมการเพาะปลูกแทบจะไม่ต่างจากวิธีการดั้งเดิมในอดีตซึ่งไม่ใช่เทคนิคที่ยาก สามารถนำมาใช้ได้ และเป็นที่สนใจอย่างมากในญี่ปุ่นจึงเป็นวิธีการเพาะต้นกล้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานเกษตรกรรม

ความลับการถือกำเนิดของ [มิทสึนาเอะ] ที่จะเปลี่ยนวิธีการทำนาของญี่ปุ่น

[ข้อสงสัย สู่แนวทางปฏิบัติ]
คำถามบางคำถาม สามารถเปลี่ยนโลกได้การพูดเป็นสิ่งที่ง่ายแต่การลงมือปฏิบัตินั้นทำได้ยาก (จากวลีที่ว่า ถ้าโคลัมบัสยื่นไข่ดิบให้ และบอกว่าลองตั้งมันดูสิ) คนทั่วไปก็จะเกิดความลังเลเพราะว่าเปลือกไข่ตามความคิดของเรามีลักษณะบาง ไม่สามารถตั้งได้ ซึ่งเปรียบเหมือนความคิด ดังนั้นหากละทิ้งความคิดเดิม ๆ แล้วเอาชนะให้ได้นั้น จะต้องสั่งสมประสบการณ์ให้มาก มิทสึนาเอะก็เหมือนกับการตั้งไข่ วิธีการใหม่นี้จะปฏิวัติรูปแบบการทำนาในญี่ปุ่น

จากความคิดอย่างแรงกล้าที่มุ่งหวังให้การเกษตรกรรมเป็นไปได้อย่างยั่งยืน จึงได้ท้าทายกับมิทสึนาเอะ

ถาดเพาะต้นกล้า ด้านซ้ายคือการเพาะแบบมิทสึนาเอะ ด้านขวาคือการเพาะแบบดั้งเดิม

สภาพแวดล้อมภาคการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ความต้องการลดต้นทุนเพื่อนำไปสู่ธุรกิจที่ยั่งยืนกำลังเพิ่มขึ้น เพื่อรับมือกับการเติบโตของภาคการเกษตรและแนวโน้มสู่สังคมผู้สูงอายุเทคนิคหนึ่งที่ได้ถือกำเนิดขึ้นคือ ระบบการเพาะเมล็ดและย้ายต้นกล้าแบบมิทสึนาเอะ
โดยปกติแล้วในถาดเพาะต้นกล้า จะหว่านเมล็ดข้าวราว 75-100 กรัม แต่การหว่านแบบมิทสึนาเอะจะมีความหนาแน่นสูงราว 250-300 กรัมต่อถาด รถดำนาที่มีสมรรถนะจะคีบต้นกล้าได้ 3-4 ต้น ต่อ 1 กอ เหมือนวิธีปลูกแบบดั้งเดิม และลดการใช้ถาดเพาะกล้า จาก 20-22 ถาดเหลือเพียง 5-6 ถาดต่อพื้นที่ 25 ไร่ ระบบนี้ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายแรงงานลงอย่างเห็นได้ชัดและบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เริ่มต้นมาจากมุมมองของผู้ผลิต
เรื่องราวการพูดคุยกับคุณโทชิฮิโระ ฟุทสึดะ ประธานบริษัทและกรรมการบริหารของบริษัท Butta Nousan Co., Ltd. (ภาพซ้ายมือ) ผู้เป็นศูนย์กลางในการผลักดัน เมื่อ 5 ปีก่อน ตอนที่เขาได้เห็นที่นาของคุณเออิจิ ฮามาดะจาก Agri-star Onaga ที่เมืองฮะคุอิ จังหวัดอิชิคาวะ ได้สอบถามว่า 25ไร่ ใช้ต้นกล้ากี่ถาดในการปลูกเขาตอบว่า สำหรับเพาะเมล็ด 200 กรัม ใช้ 10 ถาด แม้เท่านั้นก็สามารถปลูกข้าวได้ ดังนั้นฤดูใบไม้ผลิในปีถัดไป จึงได้สร้างมิทสึนาเอะ ปรับรถดำนา และทดลองปลูกโดยใช้ต้นกล้าเพียง 7 ถาดในพื้นที่ 25 ไร่ ในตอนนั้นเองนักวิจัยอาวุโสคุณคาซุโตะคุ ซะวะโมะโตะ จากห้องทดสอบทางการเกษตร ในศูนย์วิจัยเกษตรกรรมและป่าไม้ (ในตอนนั้น) กับ คุณโคจิ อิเซะมุระ ที่รับผิดชอบเป็นหัวหน้าฝ่ายที่ศูนย์วิจัยเกษตรกรรมของยันม่าร์ในปัจจุบัน ได้เข้าไปเยี่ยมชมดูงานที่แปลงนา และได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้

ประธานบริษัทฟุทสึดะ กับผู้รับผิดชอบดำเนินการ อิเซะมุระ

การทดลองประสบความสำเร็จ ในบางพื้นที่ได้ผลผลิตครอบคลุมถึง 700 กิโลกรัม [สิ่งที่สำคัญคือการไม่ยึดติดความคิดกับสิ่งที่เคยทำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมากเกินไป ควรจะคิดอยู่เสมอว่าสิ่งที่ตนเองทำอยู่ปัจจุบันนั้น ทำแบบนี้ดีแล้วหรือไม่] ทัศนคติเช่นนี้เชื่อมโยงไปถึงการตั้งไข่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่สะดวกสบายที่สุด แต่สภาพของการเกษตรกรรมของญี่ปุ่นในวันนี้ แค่รักษาสภาพปัจจุบันให้คงอยู่ต่อเนื่องก็ยากแล้ว

Butta Nousan มีเมืองโนะโนะอิจิ จังหวัดอิชิคาวะ เป็นสาขาในการผลิต แปรรูป และจำหน่ายข้าวและผัก โดยมีสัดส่วนการปลูกคือต้นกล้าสำหรับดำนา 175 ไร่ หัวผักกาด 4.3 ไร่ หัวไชเท้า 3.1 ไร่ และผลักดันการบริหารจัดการการเกษตรกรรมอย่างจริงจัง โดยจำหน่ายสินค้าผ่านทางอีเมล การทำสัญญาซื้อขายเชิงธุรกิจ จำหน่ายสินค้าแปรรูปที่ร้านค้าของสำนักงานใหญ่และร้านค้าที่สถานีคะนะซะวะ เพื่อพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ถึงแม้จะใช้เทคนิคนี้ แต่ว่าปัจจุบันเป็นยุคที่ข้าวโคะชิฮิคะริ 1 กระสอบขายได้มากกว่า 20000 เยน (5,949 บาท) คุณฟุทสึดะกล่าวไว้ว่าไม่เคยมีความคิดแบบนี้มาก่อนนี่เป็นเพราะประเด็นปัญหาด้านการบริหารจัดการที่จะลดต้นทุนอย่างไรเพื่อให้เราอยู่รอดต่อไปได้ อาจจะกล่าวได้ว่า ความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะให้การเกษตรกรรมคงอยู่ต่อไปนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว

การลดจำนวนถาดเพาะกล้าลงทำให้การขนย้ายเป็นไปได้ง่าย อัตราการทำงานในโรงเพาะชำมีปริมาณและคุณภาพสูงขึ้นเทียบเท่ากับการผลิตด้วยวิธีทั่วไป

ระบบการเพาะเมล็ดและย้ายต้นกล้าแบบมิทสึนาเอะได้ทำการพิสูจน์และทดสอบในห้องทดสอบทางการเกษตรอิชิคาวะ ในปี พ.ศ. 2556 (ปีค. ศ. 2013) และปีพ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) ยันม่าร์ได้พัฒนารถดำนาที่เก็บแผงต้นกล้าและคีบต้นกล้าได้อย่างแม่นยำเป็นจริงขึ้นมาได้ควบคู่กันไป Butta Nousan ใช้วิธีการนี้ในการปลูกพืช 3 ฤดู ซึ่งในปีนี้เป็นครั้งที่ 4 การปลูกเริ่มจากการเพาะเมล็ดข้าวเปลือก 250-300 กรัมในถาดเพาะ 1 ถาด Butta Nousan ได้ทำการเพาะเมล็ด 300กรัม เมื่อต้นกล้าอายุ 15-17 วัน จะย้ายต้นกล้าที่แตกใบ 2 - 2.3 ใบไปปลูก สมมติว่าต้องการเมล็ดข้าว 1.5 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 25.3 ไร่ วิธีการที่เคยทำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือต้องเพาะเมล็ด 75 กรัม ใช้ถาดเพาะต้นกล้า 20 ถาด แต่ถ้าทำการเพาะเมล็ดเพิ่มเป็น 4 เท่า หรือ 300 กรัม จะใช้ถาดเพาะต้นกล้าเพียง 5 ถาดหรือหนึ่งในสี่ของจำนวนถาดเพาะด้วยวิธีการทั่วไป ถ้าพื้นที่ 75.9 ไร่ ก็จะใช้ 15 ถาดโดยใช้รถดำนา 8 แถวก็สามารถทำนาคนเดียวได้โดยไม่ต้องเติมต้นกล้า ไม่ต้องมีผู้ช่วยปฏิบัติงานลดจำนวนคนในช่วงที่งานยุ่งได้ ซึ่งรูปแบบเดิมแรงงานผู้หญิงมักจะเป็นคนขนถาดเพาะต้นกล้า ซึ่งวิธีใหม่นี้จะช่วยให้ผู้หญิงทำงานได้สะดวกขึ้น

เพาะต้นกล้าแบบมิทสึนาเอะในโรงเรือน

นอกจากนี้เวลาที่ใช้เพาะต้นกล้า 75 กรัมจากเดิมใช้เวลา 35 วัน แต่ถ้าเป็นวิธีการเพาะต้นกล้าแบบนี้ จะลดลงเวลาเหลือ 15-17 วัน และเพิ่มการทำงานในโรงเพาะชำได้ดีอีกด้วย ในกรณีของ Butta Nousan สามารถลดจำนวนถาดเพาะต้นกล้าลงได้ถึงหนึ่งในสี่ และลดระยะเวลาการเติบโตได้ครึ่งหนึ่งซึ่งได้ประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น 8 เท่า Mr. Butta กล่าวว่า "เมื่อเข้าถึงวิธีการปลูกข้าวแบบผสมผสาน การใช้พื้นที่เรือนเพาะชำอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องท้าทาย วิธีนี้ช่วยในการแก้ปัญหาได้ "
การเพาะเมล็ดที่มีความหนาแน่นสูงเมื่ออายุเกิน 20 วันไปแล้วจะทำให้หยุดการเจริญเติบโต จึงต้องปลูกต้นกล้าที่มี 2-2.3 ใบ ซึ่งหากสร้างแผ่น Mat (แผงปักดำ) ได้ดี ถึงแม้ว่าบล็อคเก็บม้วนจะเล็กและน้ำไม่ลึกมากก็จะไม่แตกต่างไปจากการทำนาแบบปกติเลย
นอกจากนี้ หลังจากที่ย้ายต้นกล้าในขณะที่ต้นยังอ่อน จะทำให้หยั่งรากได้ดีและแตกหน่อสมบูรณ์กว่า ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้จากประสบการณ์ในอดีต และการลองทำในครั้งนี้ทำให้ความรู้ในอดีตปรากฏขึ้นมาอีกครั้ง หากใช้เทคนิคทำซ้ำๆ เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจจะเป็นสิ่งสำคัญ Mr. Butta กล่าว การยืนยันประสบการณ์ด้วยวิธีดั้งเดิมถือได้ว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ยึดติดข้อจำกัดที่กำหนดโดยการปฏิบัติทั่วไปในปัจจุบัน

หลังจากปลูกข้าวแล้วกระบวนการยังคงเหมือนกับวิธีปลูกข้าวแบบดั้งเดิม เมื่อเริ่มปลูกต้นกล้ามีขนาดเล็กในตอนแรกปัญหาคือต้องใช้เวลาถึงสิบวัน มันเป็นเรื่องของความอดทน” Mr. Butta กล่าว วิธีการใหม่นี้ให้ผลลัพธ์ที่เทียบเท่ากับวิธีการทั่วไปทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพโดยไม่จำเป็นต้องทำอะไรเป็นพิเศษ

รถดำนาที่ได้รับการแนะนำว่าคีบต้นกล้าได้อย่างแม่นยำในพื้นที่แคบ

 ยันม่าร์ได้พัฒนารถดำนาขึ้นมาใหม่เพื่อทำให้วิธีการข้างต้นนี้เป็นจริงขึ้นมาได้
คุณอิเซะมุระ จากศูนย์วิจัยเกษตรกรรมได้กล่าวว่า "เราได้ปรับความกว้างของหัวคีบตัวปักต้นกล้าให้เล็กลงเพื่อให้สามารถหยิบจับได้ในพื้นที่ขนาดเล็ก และรุ่นนี้ได้ใช้กระบวนการปรับขนาดชิ้นส่วนด้วยความละเอียดและแม่นยำ และลดจำนวนฟันเฟืองลงเพื่อควบคุมการสั่นสะเทือน จึงสามารถหยิบจับต้นกล้าได้อย่างเท่า ๆ กัน"
ด้วยเป้าหมายคือทำให้ดีกว่าเดิม ความแม่นยำของเครื่องจักรรุ่นนี้จึงต้องดีกว่ารุ่นที่เคยมีมา และเพื่อให้ตรงกับความต้องการนี้ ทางยันม่าร์จึงได้นำเทคนิคการปรับขนาดชิ้นส่วนด้วยความละเอียดและแม่นยำมาใช้อย่างเต็มที่ ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้มีการพัฒนาเทคนิคที่เคยทำมาอีกด้วย ด้วยกระบวนการเหล่านี้ ฝ่ายวิศวกรรมของเราสามารถพัฒนาเครื่องจักรที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของการใช้งานในท้องนา และจะทำให้ได้เห็นถึงศักยภาพที่แท้จริงรวมถึงเทคโนโลยีขั้นสูงของเรา (Monozukuri)
คุณอิเซะมุระได้กล่าวอีกว่า "เครื่องจักรรุ่นใหม่นี้ สามารถปักดำต้นกล้าในระดับความลึกที่เท่ากัน ด้วยระบบอัตโนมัติในการตรวจจับผิวหน้าดินในท้องนาที่ไม่สม่ำเสมอ" ด้วยเครื่องจักรนี้ ไม่ว่าใครก็สามารถจัดการกับระบบการหยอดเมล็ดแบบมิตสึนาเอะได้

เราคาดหวังว่าเทคนิคใหม่จะสามารถรองรับครอบครัวเกษตรกรขนาดใหญ่ ไปจนถึงครอบครัวเกษตรกรขนาดเล็กรวมทั้งเกษตรกรสมัครเล่น

ประโยชน์ของระบบการเพาะเมล็ดและย้ายต้นกล้าแบบมิทสึนาเอะคือ ลดการใช้ถาดเพาะต้นกล้า ลดค่าวัสดุ ลดพื้นที่ในการเพาะต้นกล้า ลดเวลาการขนย้ายและหยอดต้นกล้า ทั้งยังรักษาปริมาณคุณภาพได้เทียบเท่ากับวิธีการที่เคยทำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอีกด้วย รองรับได้ตั้งแต่ครอบครัวเกษตรกรขนาดใหญ่จนถึงครอบครัวเกษตรกรขนาดเล็กที่ไม่ได้ทำเต็มเวลา ซึ่งแตกต่างจากวิธีการหว่านโดยตรงที่เป็นวิธีเดียวกับการปลูกแบบดั้งเดิม ดังนั้นระบบนี้สามารถใช้ได้กับการปลูกข้าวพันธุ์พิเศษและข้าวอินทรีย์ นอกจากนี้ยังได้ผลผลิตคงที่เหมือนกับการปลูกแบบดั้งเดิม ดังนั้นจึงเหมาะกับการปลูกแบบ contact farming Mr. Butta กล่าวว่า ในอนาคตวิธีนี้น่าจะกินสัดส่วนถึง 50% แนวทางใหม่นี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำนาของญี่ปุ่น จึงอยากจะก้าวข้ามความคิดเดิมๆและคาดหวังให้มีเทคนิคใหม่เกิดขึ้น

ที่มา : ดัดแปลงมาจาก "FRONT VIEW Forefront challenges" AMJ ฉบับเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2559 (ปี ค. ศ. 2016)