ชิน โนงุจิ เกิดปี 1961 ที่เมืองมิคะสะ เกาะฮอกไกโด ศาสตราจารย์ สถาบันวิจัยทางการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ความเชี่ยวชาญ: เทคโนโลยีทางการเกษตร วิศวกรรมหุ่นยนต์ทางการเกษตร ผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม Strategic Innovation Promotion Program (SIP) "เทคโนโลยีการสร้างสรรค์ทางการเกษตร การป่าไม้ และการประมงในยุคต่อไป" สมาชิกผู้ให้ความร่วมมือแห่งคณะกรรมการทางวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ประธานคณะกรรมการของสมาคมวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์แห่งการเกษตร ชีววิทยา
June 22nd, 2017
หุ่นยนต์จะเป็นผู้ช่วยเหลือเราจริงหรือ อนาคตของการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเทคโนโลยี
หุ่นยนต์ที่เราเห็นในแอนิเมชันและหนังไซไฟกำลังกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของเรา เนื่องจากการวิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์พัฒนาขึ้นในงานด้านต่างๆ ที่เราคุ้นเคย เช่น ยานยนต์และเครื่องใช้ในบ้าน เราจึงได้สัมผัสกับหุ่นยนต์มากขึ้น จากข้อมูลขององค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (New Energy and Industrial Technology Development Organization - NEDO) ตลาดของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในญี่ปุ่นคาดว่าจะขยายตัวขึ้นเป็นอย่างมากจาก 1.6 ล้านล้านเยน ในปี 2015 เป็น 2.9 ล้านล้านเยน ในปี 2020 และจะสูงถึง 9.7 ล้านล้านเยนภายในปี 2035
ในขณะที่การเติบโตดังกล่าวดำเนินไปอย่างรวดเร็ว จึงเกิดความคาดหวังว่าปัญหาสังคมต่างๆ จะแก้ไขได้ด้วยหุ่นยนต์ และวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของประชากร การขาดแคลนอาหารเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนแรงงาน ฯลฯ เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วโลก ในส่วนของประเทศญี่ปุ่น อัตราการเกิดที่ลดลงและประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้อุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งยันม่าร์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างยิ่ง ต้องเผชิญปัญหาในทำนองเดียวกัน
หุ่นยนต์จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราอย่างแท้จริงได้อย่างไร คราวนี้เราจะมุ่งเน้นไปที่หุ่นยนต์เพื่อการเกษตร เราได้พูดคุยกับศาสตราจารย์ Noboru Noguchi จากสถาบันวิจัยทางการเกษตรประจำบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย Hokkaido University จากการสัมภาษณ์ทั้งสองครั้ง เราได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับการวิจัยด้านหุ่นยนต์เพื่อการเกษตรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่กำลังรอเราอยู่
ต้นแบบ หมายเลข 1: ต้นแบบที่ประกอบขึ้นเองจากวัสดุเหลือใช้ตั้งแต่ยางรถยนต์ไปจนถึงเครื่องยนต์ จุดเริ่มต้นที่ลองผิดลองถูกของหุ่นยนต์เพื่อการเกษตร
ศาสตรจารย์โนงุจิเกิดที่เกาะฮอกไกโด แต่อาศัยอยู่ที่จังหวัดยะมะงุจิ จนกระทั่งจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เขาเดินทางกลับไปที่ฮอกไกโดเพื่อเข้าศึกษาที่ภาควิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยฮอกไกโด โดยศึกษาวิชาเอกในด้านวิศวกรรมเพื่อการเกษตร และวิจัยเกี่ยวกับเชื้อเพลิงมวลชีวภาพระหว่างที่ศึกษาในระดับปริญญาเอก ขณะที่เป็นผู้ช่วยในมหาวิทยาลัยในปี 1992 ท่านได้เริ่มทำงานวิจัยด้านหุ่นยนต์เพื่อการเกษตร ในเวลานั้นเองงานวิจัยด้านหุ่นยนต์เพื่อการเกษตรก็ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก
- อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้ศาสตรจารย์โนงุจิเริ่มงานวิจัยด้านหุ่นยนต์
เมื่อ 25 ปีก่อน ตอนที่ผมเริ่มวิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์เพื่อการเกษตร ปัญหาเรื่องกำลังคนและการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมการเกษตรก็เป็นปัญหาที่มีให้เห็นอยู่แล้ว ที่มหาวิทยาลัย Hokkaido University ความท้าทายที่อุตสาหกรรมการเกษตรต้องเผชิญโดยตรงก็เป็นเรื่องใกล้ตัว ความพยายามที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า "บางทีหุ่นยนต์เพื่อการเกษตรแบบไม่ต้องใช้คนควบคุมอาจแก้ไขปัญหาได้"
ในตอนแรกๆ นั้นมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก สถาบันวิจัย Seiken Institute for Basic Technology Research (ปัจจุบันคือ Naro Bio-oriented Technology Research Advancement Institution ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “NARO”) ตอนนั้นเป็นสถาบันเดียวที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับยานยนต์เพื่อการเกษตรที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติภายใต้การควบคุม ผมเข้าไปร่วมงานกับสถาบันในฐานะนักวิจัยแลกเปลี่ยนในโครงการวิจัยและพัฒนาต่างๆ
- จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิจัยเมื่อ 25 ปี ก่อน การทำวิจัยในเวลานั้นเป็นอย่างไร
ประมาณปี 1992 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาบางคน และตัวผมเองได้สร้างโดรนต้นแบบหมายเลข 1 ตัวแรกขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ตั้งแต่ยางรถยนต์ แผ่นโลหะ จนถึงเครื่องยนต์ แม้การดำเนินงานจะยาก แต่ผมก็ได้เขียนรายงานจากข้อมูลมากมายที่รวบรวมจากตัวต้นแบบหมายเลข 1 หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรที่พัฒนาขึ้นอย่างเต็มรูปแบบตัวแรกเริ่มใช้งานครั้งแรกในปี 1995 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่เราได้รูปแบบรถแทรกเตอร์หมายเลข 2
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1987-1988 มหาวิทยาลัยเกียวโต เป็นศูนย์กลางการผลิตหุ่นยนต์เมื่อทางมหาวิทยาลัยได้พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการเก็บเกี่ยวขึ้น ในตอนนั้น หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับเก็บมะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่ ฯลฯ แต่สำหรับการเกษตรในฮอกไกโด โดยหลักส่วนมากยังเป็นการเพาะปลูกกลางแจ้งขนาดใหญ่ ดังนั้น เราจึงมุ่งเป้าหมายไปที่การทำงานแบบไม่พึ่งพามนุษย์
- นับตั้งแต่เริ่มทำวิจัย คุณมั่นใจไหมว่าสักวันหนึ่งเทคโนโลยีนี้จะกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
ผมมั่นใจครับ สิ่งที่ยากที่สุดของการพัฒนานี้คือการวัดตำแหน่งและการจดจำของโดรน ในตอนนั้น ระบบ GPS ยังไม่เที่ยงตรงนัก และมีราคาแพงอีกด้วย ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาระบบการวัดตำแหน่งขึ้นมาเอง อย่างไรก็ตาม ในปี 1997 ผมเข้าร่วมการทดสอบที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ในอเมริกา ซึ่งผมได้เห็นการขับเคลื่อนอัตโนมัติในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ โดยใช้ GPS ที่มีความเที่ยงตรงสูง และผมก็คิดในใจว่า "ดีเลย" โดยทั่วไปแล้ว การพัฒนาเทคโนโลยีหลักๆ ที่จำเป็นสำหรับการควบคุมการขับเคลื่อนอัตโนมัติ เช่น GPS และ GIS (Global Information System) ฯลฯ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงคือ เฉพาะในสาขาของเรา ยังคงมีงานวิจัยที่นำไปปฏิบัติจริงไม่ได้อยู่จนถึงปัจจุบัน
- ขณะที่จำนวนบุคลากรในภาคการเกษตรลดลง พื้นที่ต่อคนกลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดรนจึงมีบทบาทมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ใช่แล้ว ขนาดพื้นที่สำหรับชาวนาปลูกข้าวปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12 เฮกเตอร์ต่อคน และมีขนาด 20 เฮกเตอร์ต่อครอบครัวที่มีสมาชิกสองคน อย่างไรก็ตาม ขนาดพื้นที่จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 30-40 เฮกเตอร์ต่อครอบครัว จากการที่มีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นในการให้การสนับสนุนต่างๆ และผลการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรจะมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ และกำไร
- การทดสอบการสาธิตรถแทรกเตอร์ที่ไม่ใช้คนควบคุมได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสามารถทำเป็นเชิงพาณิชย์ได้ในที่สุด
แทรกเตอร์ที่ไม่ใช้คนควบคุมนี้เป็นผลงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับบริษัทยันม่าร์เป็นระบบการขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการติดตั้งเครื่องรับสัญญาณ GPS แทรกเตอร์สามารถทำงานได้โดยการตั้งโปรแกรมล่วงหน้าจากแท็บเล็ต ฯลฯ ตั้งแต่การเตรียมที่ดินเพื่อเพาะปลูก และการหว่านเมล็ดพืช ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวโดยไม่ต้องใช้คนควบคุม
แต่มีอุปสรรคหลายประการที่ต้องแก้ไข เพื่อแปลงระบบให้ไม่ต้องพึ่งพามนุษย์อย่างเต็มรูปแบบ ในลำดับแรก เพื่อให้นำมาใช้ได้จริง เราได้สร้างระบบเครื่องจักรทั้งแบบมีคนควบคุมและไม่มีคนควบคุมสำหรับใช้งานควบคู่กัน หรือกล่าวโดยสรุปคือ หากเกิดอะไรขึ้น คนก็เข้ามาควบคุมได้ ดังนั้นจึงสามารถนำมาดำเนินงานได้จริง อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ณ จุดนี้ คุณก็สามารถขยายขอบเขตการดำเนินงาน และเพิ่มผลผลิตของคุณได้อย่างเหมาะสมโดยให้เครื่องจักรสองตัวทำงานร่วมกัน
- เรากำลังตั้งตารอเสียงตอบรับในตลาด ตอนนี้มีประเด็นเรื่องอะไรบ้าง
ราคาและความปลอดภัย ในส่วนของราคา ราคาของ GPS ซึ่งสูงถึง 20 ล้านเยนเมื่อ 20 ปีก่อน ปัจจุบันได้ลดลงแล้ว ภายในปี 2020 เราจะอยู่ในยุคที่คาดกันว่าราคาดังกล่าวจะอยู่ในช่วงระดับ 100,000 เยน เมื่อเทคโนโลยีพัฒนายิ่งขึ้น คนจำนวนมากขึ้นก็นำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยไม่ใช่เรื่องที่แก้ไขได้โดยใช้เพียงแค่เทคโนโลยี ความเสี่ยงที่เป็นศูนย์จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากวัตถุต่างๆ ยังสร้างด้วยมนุษย์ งานที่ไม่ใช้คนควบคุมในด้านต่างๆ ที่ยังไม่จำกัดการเข้าถึงไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะปลอดภัย 100% ไม่ว่าระบบความปลอดภัยจะก้าวหน้าไปมากเพียงใดก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ยังคงเป็นเรื่องยากที่ระบบการประมวลผลภาพจะสามารถระบุตัวเด็กที่เล่นอยู่ใต้ร่มเงาของต้นพืชสูงใหญ่ ปัญหาด้านความปลอดภัยอาจส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากเกินไปหากเราพยายามแก้ไขโดยใช้แต่เพียงเทคโนโลยี ใน "คู่มือแนะนำด้านความปลอดภัยสำหรับการใช้งานเครื่องจักรทางการเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติ" ที่จัดทำขึ้นโดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง กำหนดว่าต้องมีบุคลากรประจำอยู่ในสถานที่ ซึ่งสามารถเฝ้าสังเกตได้โดยใช้สายตา การใช้เครื่องจักรควบคู่กับมนุษย์จึงเป็นทางออกหนึ่ง
ประชากรสูงอายุและการขาดแคลนคนงานเป็นข้อจำกัดในการทำงานต่างๆ
หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรช่วยเพิ่มผลผลิตและแก้ปัญหาการสืบทอดทักษะดั้งเดิม
ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ประชากรสูงวัยได้กลายเป็นปัญหาสำคัญ โดยอายุเฉลี่ยของคนงานในภาคการเกษตร 65% ในญี่ปุ่นอยู่ที่ 66.8 ปี กระทรวงดังกล่าวยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้เป็นเชิงพาณิชย์โดยการนำระบบควบคุมการขับเคลื่อนอัตโนมัติมาใช้ในไร่นาภายในปี 2018 และใช้ระบบตรวจสอบจากทางไกลโดยไม่ใช้คนภายในปี 2020 การพัฒนาทางเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล และหน่วยงานวิชาการกำลังก้าวหน้ายิ่งขึ้น
- สำหรับอนาคตของหุ่นยนต์เพื่อการเกษตร มีการตั้งเป้าหมายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นไว้อย่างไร
รัฐบาลยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้เกิดระบบตรวจสอบระยะไกลโดยไม่ใช้คนภายในปี 2020 อย่างไรก็ตาม คู่มือแนะนำก่อนหน้านี้กำหนดไว้ว่า "ไม่ให้หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรวิ่งบนถนน" ดังนั้น หุ่นยนต์จะทำงานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ หากพื้นที่ทำการเกษตรอยู่แยกออกจากกัน ผมคิดว่ากฎหมายการจราจรจะต้องได้รับการทบทวนใหม่
- จริงๆ แล้ว สิ่งที่น่าจะต้องเปลี่ยนแปลงคือวิธีที่เราทำงานและกระบวนการต่างๆ ในสังคม คุณคิดว่าหุ่นยนต์เพื่อการเกษตรมีคุณค่าอย่างไรนอกเหนือจากการมาแทนที่แรงงาน
หน้าที่โดยพื้นฐานของหุ่นยนต์คือมาแทนที่แรงงานเพื่อรองรับการขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ตามก็มีการคาดหวังว่าหุ่นยนต์จะสามารถทำหน้าที่รองลงมาคือการบันทึกข้อมูลของพื้นที่การผลิต เช่น การบันทึกข้อมูลของพื้นที่ปลูกพืชในรูปแบบดิจิทัล จนถึงปัจจุบัน ชาวนายังคงเขียนรายงานด้วยมือ และต้องจัดการงานต่างๆ ด้วยตนเอง แต่ในอนาคตงานเหล่านี้จะเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด สถานการณ์นี้ต้องอาศัยประสบการณ์และการหยั่งรู้ด้วยตนเองของแต่ละคน
ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ ภูมิปัญญาที่จะหายไปของชาวนาสูงวัยที่มีทักษะ ซึ่งจะเป็นปัญหาที่รุนแรงกว่าการขาดแคลนแรงงาน หากภูมิปัญหานี้หายไปโดยไม่ได้รับการสืบทอด ประสิทธิภาพและผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่จะลดลงเนื่องจากผู้สูงวัยเหล่านี้หายไป สุดท้ายแล้วเราอาจจะต้องอยู่ในวงจรที่ไร้ประสิทธิภาพ ในเวลาอีก 10 ปีข้างหน้า ผู้ที่มีอายุ 65 ปีในปัจจุบัน จะมีอายุ 75 ปี เราเชื่อว่าการเก็บรวบรวมและจัดการ “ความรู้แบบฝังลึก” ที่ไม่ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด ซึ่งเป็นความรู้ที่ติดตัวคนงานในภาคการเกษตรแต่ละคน และการเปลี่ยนแปลงความรู้นี้ให้เป็น “ความรู้ที่ชัดแจ้ง” เป็นเรื่องจำเป็น
- หุ่นยนต์ประเภทใดที่จะมีประโยชน์ต่อการบันทึกข้อมูลของพื้นที่การผลิตโดยเฉพาะ
การใช้โดรนลอยในอากาศเป็นตัวอย่างหนึ่ง การใช้โดรนหรือเฮลิคอปเตอร์จะทำให้เราสามารถระบุบริเวณที่มีการเติบโตต่ำ ความหลากหลายของผลผลิต ฯลฯ โดยการค้นหาและบันทึกภาพไร่นาจากทางอากาศ
ซึ่งจะทำให้เราบริหารพื้นที่ทำการเกษตรได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สิ่งนี้จะเป็นงานที่ยันม่าร์กำลังดำเนินการอยู่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเรื่องนี้ จะเห็นว่าหุ่นยนต์และข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับการวิเคราะห์มีความสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับไร่นาและการทำงานที่ได้มาจากการดำเนินงานเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ชาวนาได้ใช้จริง อย่างไรก็ตาม
เราเชื่อว่าขั้นต่อไปของหุ่นยนต์ที่ทำงานโดยไม่ใช้คนควบคุมจะเป็น "หุ่นยนต์ที่เข้าใจการทำนา"
หุ่นยนต์จะพัฒนาตนเองโดยการนำข้อมูลใหม่ๆ มาใช้ และสิ่งนี้จะสะท้อนให้เห็นในการทำงาน
- ถ้าจะให้เจาะจงกว่านี้ คือ เรามีแนวคิดที่ว่าหุ่นยนต์จะพัฒนาด้วยสมองกล AI
จริงๆ นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ที่คนงานในภาคการเกษตรรุ่นใหม่ที่อายุน้อย ซึ่งมีความสนใจในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้มาใช้ จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ผมสัมผัสได้ถึงสิ่งนี้ทุกวันในตัวนักเรียนของผม
เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ชาวนาจะบอกผมว่า "งานของพวกเราจะหายไปหากมีการนำโดรนมาใช้จริง" อย่างไรก็ตาม
หากปล่อยให้หุ่นยนต์ได้ทำงานที่ตั้งโปรแกรมไว้ มนุษย์ก็จะได้ทำงานที่มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่จะทำได้
ผมเชื่อว่าหุ่นยนต์ยังจะมีประโยชน์ในแง่ของการที่พวกมันจะทำให้ชาวนามีเวลาทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ เช่น "จะปลูกอะไรและขายที่ไหน" และ "จะดำเนินการอะไรบ้าง"
หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรจะพัฒนาขึ้นทั่วโลก
เป็นการแนะนำเทคโนโลยีที่เราคาดว่าจะได้เห็นในอนาคต
- ปัญหาด้านการเกษตรแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
คุณช่วยแสดงหุ่นยนต์ล่าสุดที่นำมาใช้งานจริงแล้วหรือกำลังทำการวิจัยอยู่ รวมถึงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
ที่สอดคล้องกับมุมมองของศาสตรจารย์โนงุจิให้เราเห็นได้ไหม
งานวิจัยพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในการทำนาขนาดใหญ่ในอเมริกาและประเทศต่างๆ ในยุโรป รวมถึงจีน เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ในส่วนของการขาดแคลนแรงงาน สถานการณ์ในซีกโลกตะวันตกไม่รุนแรงเท่ากับในญี่ปุ่น
แต่ทุกประเทศกำลังเผชิญกับจำนวนแรงงานภาคการเกษตรที่ลดลง
ปัญหาหลักคือการขาดแคลนอาหาร องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agricultural Organization of the United Nations - FAO) คาดว่าจำนวนประชากรทั่วโลกจะสูงถึง 9,600 ล้านคน ภายในปี 2050 เพื่อให้มีอาหารรองรับจำนวนประชากรนี้ เราจะต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า หากผลิตในอัตราปัจจุบัน
เราจะขาดแคลนอาหารอย่างแน่นอน
ปัญหาอีกประการหนึ่งคือเหตุการณ์สภาพอากาศผิดปกติที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น
มีฝนตกอย่างหนักแม้ในบริเวณที่ปกติแล้วมีปริมาณน้ำฝนต่ำ
ปริมาณน้ำฝนต่ำเป็นรากฐานของการสร้างแบบแผนทางการเกษตรดั้งเดิมของยุโรป ดังนั้น หากฝนตก
รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ก็จะติดอยู่กับที่และใช้งานไม่ได้ หากเป็นเช่นนี้
ก็จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถดำเนินงานประจำฤดูกาลต่างๆ ให้เสร็จสมบูรณ์ และก็จะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวน้อยลง
อีกทั้งยังเป็นไปไม่ได้ที่จะจ้างบุคลากรเพิ่มเติมเพื่อทำงานโดยใช้รถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก
รถแทรกเตอร์แบบไม่ใช้คนจึงมีแนวโน้มที่จะสร้างความสนใจมากยิ่งขึ้น
- การประหยัดแรงงานและการเพิ่มประสิทธิภาพดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจร่วมกัน ดังนั้น
เรามาดูกันที่หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรที่ศาสตรจารย์โนงุจิให้ความสนใจ
หุ่นยนต์ประสานพิกัด
ปัจจุบัน หุ่นยนต์ประสานพิกัด เช่น “หุ่นยนต์หลายตัว” ที่เรากำลังพัฒนาขึ้นในห้องวิจัย
สามารถประสานพิกัดเพื่อทำงานร่วมกันได้ ไม่ว่าจะมีจำนวนกี่หน่วยก็ตาม แทนที่จะเพิ่มขนาดของโดรนแต่ละตัว
การให้โดรนหลายๆ ตัวประสานงานกันนับเป็นแนวคิดใหม่ ไม่ว่าจะกี่หน่วยก็ตามก็สามารถทำงานได้พร้อมกัน
เทคโนโลยีนี้ล้ำหน้ากว่าแบบใช้งานควบคู่กันเล็กน้อย ซึ่งมีการเผยแพร่ออกสู่ตลาดแล้ว
หมายเหตุ: รายงานเกี่ยวกับการสาธิตหุ่นยนต์ประสานพิกัดที่มหาวิทยาลัย Hokkaido University ติดตามต่อในส่วนที่ 2
หุ่นยนต์เก็บสตรอเบอรี่ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติ
หุ่นยนต์เก็บสตรอเบอร์รี่ที่พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยอุทสึโนมิยะ และ NARO
เป็นเทคโนโลยีที่สามารถเก็บผลไม้ได้โดยไม่สัมผัสผล โดยอาศัยการแยกแยะสีที่เกี่ยวข้อง
และการระบุระดับความสุกของสตรอเบอร์รี่และมุมของลำต้นได้อย่างแม่นยำ
สตรอเบอร์รี่เสียหายได้หากถูกมือของมนุษย์สัมผัส
เทคโนโลยีนี้จึงมีประโยชน์ในส่วนที่ไม่ทำให้ราคาของผลไม้ลดลงเนื่องจากถูกมือสัมผัส
ในแง่ของการประหยัดแรงงานและการเพิ่มผลผลิต
การให้หุ่นยนต์ทำงานในตอนกลางคืนจะช่วยให้บุคลากรตรวจสอบผลไม้ลูกที่ยังไม่ได้เก็บได้ในเช้าวันถัดมา
ชุดอุปกรณ์ช่วยทุ่นแรง
ในภาคการเกษตร สถานที่ทำงานคือดินที่ไม่ราบเรียบ แทนที่จะเป็นพื้นแข็ง
การใช้หุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์จึงเป็นเรื่องยากมาก แม้หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์จะใช้งานไม่ได้
แต่ก็มีชุดจักรกลเสริมพละกำลังที่ใช้งานได้และเข้ามาเป็นที่นิยมได้ไม่นาน ชุดเหล่านี้มีมอเตอร์ติดตั้ง
ทำให้ยกของและทำงานอื่นๆ ได้ง่ายดาย อีกทั้งชุดยังมีรูปลักษณ์ที่โดดเด่น
นอกจากจะใช้แบกผลไม้และพืชผลน้ำหนักมากแล้ว ก็ยังคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดดังกล่าวจะสามารถใช้ในงานพยาบาลด้วย การทำเชิงพาณิชย์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
เครื่องกำจัดวัชพืชแบบคัดกรองอัตโนมัติ
จากการบรรยายโดยศาสตราจารย์ไซม่อน แบล็คมอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เปอร์ อดัมส์แห่งสหราชอาณาจักร
หุ่นยนต์แบบไม่ใช้คนควบคุมกำจัดวัชพืชพร้อมหลีกเลี่ยงการทำลายพืชผล แม้การกำจัดวัชพืชตามแนวคันนาจะค่อนข้างง่าย แต่การกำจัดวัชพืชตามบริเวณที่มีพืชผลเป็นเรื่องยากมาก เครื่องดังกล่าวสามารถติดตั้งโปรแกรมให้ใช้กล้องในการระบุวัชพืช หุ่นยนต์ที่กำจัดวัชพืชโดยใช้เลเซอร์กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาเช่นกัน วัชพืชจะถูกเผากำจัดในช่วงที่กำลังเติบโต
ยากำจัดวัชพืชจะไม่จำเป็นอีกต่อไปในที่สุด
การสัมภาษณ์ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ชิน โนงุจิ นักวิจัยชั้นนำด้านหุ่นยนต์เพื่อการเกษตร
จากการมีส่วนร่วมของศาสตรจารย์โนงุจิในงานวิจัยนี้
ศาสตราจารย์ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของงานวิจัยต่อการทำงานและมูลค่าที่งานวิจัยนี้จะนำมาสู่ภาคการเกษตรและสังคม
เรื่องราวนี้จะดำเนินต่อไปในอีกไม่นาน ครั้งหน้าเราจะรายงานจากสถานที่ที่ศาสตรจารย์โนงุจิดำเนินการทดสอบการสาธิต อีกทั้งเราจะพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายในอนาคตของภาคการเกษตรที่จะบรรลุได้ด้วยหุ่นยนต์เพื่อการเกษตร